บทความ

ทำความรู้จักกับ ชุด PPE และอุปกรณ์ PPE คืออะไร มีแบบไหนบ้าง

การป้องกันอันตรายและการรักษาความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่เสี่ยง เป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างมาก โดยอุปกรณ์ใช้ในการรักษาความปลอดภัยที่รู้จักกันเป็นอย่างดีประเภทหนึ่ง คือ ชุด PPE ที่เป็นที่พูดถึงกันมากในยุคปัจจุบัน  ซึ่งเราจะมาดูกันว่าชุดป้องกันดังกล่าวนี้คืออะไรและมีความสำคัญอย่างไรในด้านการป้องกันผู้สวมใส่บ้าง

PPE คืออะไร

อุปกรณ์รักษาความปลอดภัยในการทำงานมีความสำคัญมากสำหรับผู้ที่ทำงานด้านอุตสาหกรรม เราจึงขอพาทุกคนไปทำความรู้จักกับชุดที่ให้ในการทำงานให้มากขึ้นกว่าเดิม ชุด PPE หรืออุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล มีประโยชน์เพื่อป้องกันอันตรายจากการทำงาน ช่วยลดอุบัติเหตุจากการทำงาน และช่วยรักษาสุขภาพของผู้ทำงานให้ปลอดภัยและมีสุขภาพดีจากการทำงานได้
  • ชุด PPE ป้องกันดวงตาและใบหน้า ช่วยป้องกันอันตรายจากสารเคมีหรือวัตถุ ไม่ให้ดวงตา ใบหน้าบาดเจ็บได้ เช่น แว่นตานิรภัย แว่นครอบตา กระบังป้องกันใบหน้า หรือ Face shield หน้ากากเชื่อม
  • ชุด PPE ป้องกันมือและแขน เหมาะสำหรับงานที่ต้องป้องกันอันตราย เช่น งานเจีย งานตัด งานสารเคมี เช่น ถุงมือป้องกันความร้อน ถุงมือป้องกันความเย็น ถุงมือใยหิน ถุงมือยาง
  • ชุด PPE ป้องกันขาและเท้า เพื่อป้องกันอันตรายส่วนเท้า นิ้วเท้า หน้าแข้ง เช่น รองเท้านิรภัย รองเท้าหุ้มข้อกันฉนวน รองเท้าป้องกันสารเคมี
  • ชุด PPE ป้องกันลำตัว เพื่อป้องกันอันตรายจากสะเก็ดไฟ งานที่ใช้ความร้อนสูง เช่น ชุดป้องกันสารเคมี ชุดป้องกันความร้อน
อุปกรณ์ป้องกันอันตรายหรือชุด PPE มีความจำเป็นในการป้องกันอุบัติเหตุและการสูญเสียได้ ดังนั้น เราจึงควรสวมใส่ชุด PPE ทุกครั้งที่ทำงาน และควรเลือกชุด PPE ที่ได้มาตรฐานด้วย
Male worker wearing personal protective equipment with glasses gloves safety harness helmet clothing flat poster vector illustration

ทำความรู้จักกับ ชุด PPE

คำว่า PPE มาจากคำว่า Personal Protective Equipment ที่ใช้เรียกอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล มีไว้สำหรับผู้ปฏิบัติงานเพื่อป้องกันหรือบรรเทาอันตรายจากการทำกิจกรรมต่าง ๆ เหมาะสำหรับสถานที่มีความเสี่ยงสูง โดยในที่นี้รวมไปถึงอันตรายที่ก่อให้เกิดการบาดเจ็บและเกิดการเจ็บป่วย โดยอุปกรณ์เหล่านี้มีอยู่ด้วยกันหลายประเภท เพื่อปกป้องร่างกายในทุกระบบตั้งแต่ศีรษะจรดปลายเท้า ดังต่อไปนี้
  • อุปกรณ์ป้องกันใบหน้าและดวงตา
  • อุปกรณ์ป้องกันมือและแขน
  • อุปกรณ์ป้องกันขาและเท้า
  • อุปกรณ์ป้องกันลําตัว
  • อุปกรณ์ป้องกันระบบหายใจ
นอกจากนี้ยังมีทั้งอุปกรณ์ที่ใช้ในการป้องกันเสียงดังและอุปกรณ์สำหรับป้องกันการตกจากที่สูง ซึ่งทั้ง 2 อย่างหลังนี้เป็นส่วนประกอบของชุด PPE ที่ใช้ในงานเชิงอุตสาหกรรม แต่หากเป็นส่วนประกอบของชุด PPE ในทางการแพทย์จะมีอุปกรณ์หลัก คือ
  • เสื้อคลุมแขนยาวที่มีจุดรัดข้อมือ ทำจากวัสดุกันน้ำ ใช้สวมใส่เพื่อป้องกันการกระเด็นของเชื้อโรคและสารคัดหลั่งต่าง ๆ ของผู้ป่วย
  • หน้ากากอนามัย Surgical mask หรือหน้ากาก N95 ที่สามารถเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสม โดยจะต้องสวมใส่เพื่อป้องกันการสูดดมเชื้อ, การป้องกันเชื้อกระเด็นเข้าปากและจมูก, การป้องการสารเคมีต่าง ๆ
  • หมวกคลุมผม เพื่อป้องกันการกระเด็นของเชื้อโรคหรือสารคัดหลั่งเข้าสู่เส้นผมและศีรษะ
  • แว่นป้องกันดวงตาหรือกระจังหน้า (Face shield)
  • อุปกรณ์ป้องกันมือ เช่น ถุงมือยางหรือถุงมือไนโตร ใช้สวมใส่เพื่อป้องกันอันตรายจากการสัมผัสเชื้อโรคโดยตรง  ซึ่งควรมีการสวมถุงมือให้ทับปลายแขนเสื้อคลุม เพื่อเป็นการป้องกันสารคัดหลั่งหรือเชื้อโรคกระเด็นเข้าช่องว่างของชุด
  • อุปกรณ์ป้องกันเท้า ใช้สวมใส่เพื่อป้องกันการสัมผัสกับสารคัดหลั่งหรือเชื้อโรคที่จะกระเด็นเข้าสู่ผิวหนังบริเวณเท้า ซึ่งต้องเลือกรองเท้ายางที่มีการหุ้มปิดบริเวณปลายเท้า หากจำเป็นก็อาจจะใช้ถุงหุ้มรองเท้าเพิ่ม

ประเภทของ ชุด PPE

ปัจจุบันนี้มีการนำชุด PPE มาใช้กันเป็นจำนวนมากในงานส่วนที่ต้องดูแลผู้ป่วยที่มีอาการติดเชื้อ ซึ่งชุดที่ใช้ในการปฏิบัติงานดังกล่าวมีอยู่ด้วยกันหลายระดับ ดังนี้ 1.Standard PPE Standard PPE เป็นชุด PPE ที่ใช้สวมใส่ในพื้นที่อัตราความชุกของโรคต่ำ อุปกรณ์ที่ต้องใช้ประกอบด้วยเน็ตหรือหมวกคลุมผม, แว่นป้องกันดวงตา, หน้ากาก surgical mask, ชุดคลุมกันน้ำ, ถุงมือ และรองเท้า 2.Full PPE Full PPE เป็นชุด PPE ที่ใช้สวมใส่ในพื้นที่อัตราความชุกของโรคสูง โดยประกอบไปด้วยเน็ตหรือหมวกคลุมผม, แว่นป้องกันดวงตา , Face  shield, หน้ากาก N95 , ชุดคลุมกันน้ำ,  ถุงมือกันน้ำ 2 ชั้น, ที่คลุมขา และรองเท้าบูท 3.Enhance PPE Enhance PPE เป็นชุด PPE ที่ใช้ใส่ปฏิบัติงานในพื้นที่มีผู้ป่วยที่ได้รับการยืนยันว่ามีการติดเชื้อร้ายแรง เช่น Covid 19 โดยประกอบไปด้วยหมวกคลุมผม Medical cap ซึ่งเป็นหมวกคลุมทั้งศีรษะ, แว่นป้องกันดวงตา, Face  sheild, หน้ากาก N95 หรือหน้ากากชนิด Respirator mask , ชุดคลุมปฏิบัติการชนิด cover all ที่ผ่านทดสอบการป้องกันสารทางชีวภาพและสารติดเชื้อแล้ว, ถุงมือกันน้ำ 2 ชั้น, ที่คลุมขา และรองเท้าบูท จะเห็นได้ว่าชุด PPE นั้นเป็นชุดที่มีความสำคัญอย่างมากในการปกป้องผู้สวมใส่จากเชื้อโรคและสารอันตรายต่าง ๆ ดังนั้นเราควรเลือกใช้ชุดให้เหมาะสมกับสถานการณ์ เพื่อการป้องกันที่ดีที่สุดนั่นเอง ……………………………………….

คำถามที่พบบ่อย

เมื่อลองนึกถึงคำว่า “ชุด PPE” เชื่อว่าหลายคนคงคิดถึงภาพของแพทย์และพยาบาลที่สวมใส่ชุดป้องกันแบบเต็มตัว เพื่อป้องกันเชื้อไวรัสอย่างแน่นอน แต่ในความเป็นจริงแล้ว PPE หรือ Personal Protective Equipment เป็นคำที่ใช้เรียกอุปกรณ์ที่ช่วยคุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล ตั้งแต่อุปกรณ์ป้องกันศีรษะ ใบหน้าและดวงตา ลำตัว มือ แขน และขา รวมไปถึงอุปกรณ์ป้องกันระบบหายใจ ซึ่งชุด PPE นั้นมีหลากหลายประเภท แตกต่างกันไปตามการใช้งานและอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น เช่น การติดเชื้อ สารเคมี ความร้อน หรือความเย็น เป็นต้น ก่อนจะสั่งซื้อชุด PPE จึงต้องทำการศึกษาหรือขอคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญก่อน

ชุด PPE มีหลายประเภทให้เลือกใช้งาน ซึ่งขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมของงานภาคสนามและอันตรายที่ผู้ปฏิบัติงานอาจพบเจอ ซึ่งสามารถแบ่งประเภทหลักของชุด PPE ได้ ดังนี้

  • ชุดหมีช่าง – เป็นชุด PPE อเนกประสงค์ที่นิยมนำมาใช้งาน จนกลายเป็นยูนิฟอร์มของสายงานหลายแขนง เช่น  ช่างไฟฟ้า ช่างประปา ช่างไม้ และใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมทั่วไป ซึ่งมีลักษณะเป็นชุดท่อนเดียว เสื้อและกางเกงเย็บติดเป็นตัวเดียวกัน ผลิตจากผ้าเนื้อหนา จึงทนทานต่อการขีดข่วน แรงดึง และการฉีกขาดได้ดี อีกทั้งช่วยให้ปฏิบัติงานได้อย่างคล่องตัว
  • ชุดป้องกันสารเคมี – นิยมใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมเกี่ยวกับอาหาร ยา และการแพทย์ ส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นสีขาวคลุมทั้งตัวไปจนถึงส่วนศีรษะ หรืออาจเป็นแค่เสื้อที่สวมป้องกันเฉพาะลำตัว ขึ้นอยู่กับลักษณะของงาน
  • ชุดป้องกันเชื้อโรค – คือชุด PPE ทางการแพทย์ใช้เพื่อปฏิบัติหน้าที่ในโรงพยาบาลหรือในห้องผ่าตัด รวมไปถึงในกรณีที่มีการระบาดของเชื้อไวรัสอย่างโควิด-19 นั่นเอง ซึ่งชุด PPE ชนิดนี้จำเป็นต้องผ่านมาตรฐาน EN 14126 เนื้อผ้าต้องสามารถป้องกันการกระเด็นและซึมของสารคัดหลั่งหรือของเหลวต่าง ๆ ได้
  • ชุดป้องกันความร้อน – เรียกอีกอย่างว่าชุดอลูมิไนซ์ สำหรับใช้งานในสภาพพื้นที่ที่มีความร้อนสูงอย่างโรงงานอุตสาหกรรมหรือภายในเครื่องจักรขนาดใหญ่ ส่วนใหญ่ทำมาจากผ้าที่ทอจากเส้นใยแข็ง แล้วเคลือบผิวด้านนอกด้วยอลูมิเนียมเพื่อสะท้อนรังสีความร้อน
  • ชุดป้องกันความเย็น – เหมาะสำหรับสวมใส่ในพื้นที่ที่มีอุณหภูมิต่ำอย่างห้องเย็น โดยสามารถป้องกันความเย็นได้ 10°F ถึง -50°F ขึ้นอยู่กับรุ่น มีทั้งแบบชุดหมี เสื้อแจ๊คเก็ต และกางเกง

 

หลายคนคงคิดว่าการสวมใส่แค่ ”ชุด” PPE ก็เพียงต่อการป้องกันแล้ว เพราะเป็นอุปกรณ์ที่ป้องกันลำตัวได้อย่างครอบคลุม อย่างไรก็ตาม อันตรายสามารถเกิดขึ้นได้ทุกที่ บนทุกส่วนของร่างกาย ฉะนั้นในการปฏิบัติงานจึงต้องสวมใส่อุปกรณ์ที่สำคัญให้ครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็นหมวกนิรภัย หน้ากาก รวมไปถึงถุงมือและรองเท้า เพื่อให้แน่ใจว่าจะได้รับการป้องกันที่ครอบคลุม ไม่เกิดอันตราย บาดเจ็บ หรือเกิดการสูญเสียขณะปฏิบัติงาน ดังนั้นจึงขอแนะนำให้ทุกท่านสั่งซื้อชุด PPE แบบครบเซ็ต โดยมีอุปกรณ์ป้องกันครอบคุลมมากที่สุด

ในด้านการแพทย์ ชุด PPE นั้นมีอยู่ด้วยกัน 3 ชนิด ได้แก่

  • Standard PPE – ชุด PPE ที่ใช้ในพื้นที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อต่ำ โดยอุปกรณ์ที่ต้องใช้ประกอบด้วยเน็ตหรือหมวกคลุมผม แว่นป้องกันดวงตา หน้ากากแบบ Surgical Mask ชุดคลุมกันน้ำ ถุงมือ และรองเท้า
  • Full PPE – ใช้สวมใส่ในพื้นที่ที่มีอัตราความชุกของโรคสูง ประกอบด้วยอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้แก่ เน็ตหรือหมวกคลุมผม แว่นป้องกันดวงตา Face Shield หน้ากาก N95 ชุดคลุมกันน้ำ ถุงมือกันน้ำ 2 ชั้น ที่คลุมขา และรองเท้าบูท
  • Enhance PPE – ชุด PPE ที่ให้การป้องกันเชื้อโรคสูงสุด ใช้สำหรับใส่ปฏิบัติงานในพื้นที่ที่มีผู้ป่วยที่ได้รับการยืนยันว่ามีการติดเชื้อรุนแรงหรือเป็นโรคติดต่อ อย่างโรคโควิด-19 นั่นเอง ซึ่งประกอบไปด้วยหมวกคลุมผม Medical Cap คลุมทั้งศีรษะ แว่นป้องกันดวงตา Face Shield หน้ากาก N95 หรือหน้ากากชนิด Respirator Mask ชุดคลุมปฏิบัติการชนิด Cover All ที่ผ่านทดสอบการป้องกันสารทางชีวภาพและสารติดเชื้อ ถุงมือกันน้ำ 2 ชั้นที่คลุมขาและรองเท้าบูท

ชุด PPE ทางการแพทย์นั้นถูกใช้งานในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ ส่วนชุด PAPR หรือ Power Air Purifying Respiratory เป็นอุปกรณ์ชุดพัดลมกรองอนุภาคระดับสูงที่จะต่อเข้ากับชุดคลุมศีรษะ เมื่อเปิดสวิตช์ ตัวพัดลมก็จะทำการดูดอากาศผ่านตัวกรองแล้วส่งอากาศมาที่ชุดคลุมศีรษะ ดังนั้นภายในชุดคลุมศีรษะจะมีแรงดันอากาศมากกว่าภายนอก (Positive Pressure) จึงทำให้เชื้อโรคและเชื้อไวรัสต่าง ๆ ไม่สามารถเข้ามาถึงตัวผู้สวมใส่ได้นั่นเอง

โดยอุปกรณ์  PAPR นั้นถูกผลิตออกเพื่อแพทย์วิสัญญี ศัลยแพทย์ที่ทำการผ่าตัดทางเดินระบบหายใจ หู คอ จมูก และศัลยแพทย์ด้านหลอดลมและปอด เนื่องจากเป็นผู้ที่มีความเสี่ยงสูง อีกทั้งการผ่าตัดยังต้องใช้เวลานาน หากสวมใส่เพียงชุด PPE ก็อาจทำให้อึดอัด ร้อน และวิงเวียนศีรษะ จนทำให้ประสิทธิภาพการของแพทย์ทำงานลดลงได้ ซึ่งชุด PAPR สามารถแก้ปัญหาในจุดนี้ได้นั่นเอง 

admin

Recent Posts