5 ข้อควรระวังเมื่อต้องทำงานบนที่สูง

Safety body construction

หนึ่งในการทำงานที่ถือว่าอันตรายมาก คือ การทำงานบนที่สูง เพราะเรื่องของการพลัดหล่นหรืออุปกรณ์ที่ใช้เกิดชำรุดเสียหายในขณะทำงานจนทำให้เกิดอุบัติเหตุอาจพาให้คนทำงานถึงแก่ชีวิตได้ ถือว่าเป็นงานที่สามารถเกิดเหตุไม่คาดฝันได้ตลอดเวลา ดังนั้นคนที่ต้องทำงานบนที่สูงบ่อยครั้งจึงควรต้องระมัดระวังให้มาก มีอุปกรณ์เซฟตี้ที่ครบครันและมีเครื่องมือช่างที่ได้มาตรฐาน รวมไปถึงอุปกรณ์รักษาความปลอดภัยต่างๆ ก็ต้องมีคุณภาพและแข็งแรงด้วยเช่นกัน เพื่อให้คนทำงานได้มั่นใจมากยิ่งขึ้น ไม่รู้สึกเหมือนแขวนชีวิตไว้บนเส้นด้ายและนอกจากตัวอุปกรณ์กับชุดด้านความปลอดภัยแล้ว ยังมีอีก 6 ข้อควรระวังเมื่อต้องทำงานบนที่สูง คือ

1.ตรวจสอบความปลอดภัย
ก่อนจะเริ่มงานที่ต้องมีความเสี่ยง ควรมีการตรวจสอบความปลอดภัยของอุปกรณ์เซฟตี้, เครื่องมือช่าง และอุปกรณ์ความปลอดภัยทุกประเภทให้เรียบร้อย การทำงานบนที่สูงระดับ 2 เมตรขึ้นไป ต้องมีอุปกรณ์เพื่อป้องกันการตกหล่นที่ครบครัน เช่น สายพยุงตัว, ตาข่ายนิรภัย, ราวกันตก และนั่งร้านที่ได้มาตรฐาน เป็นต้น อุปกรณ์เหล่านี้ต้องผ่านการตรวจสอบเป็นประจำ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาชำรุดที่อาจพาให้เกิดความเสียหายในอนาคต

2.ตั้งกฎเพื่อความปลอดภัย
เมื่อต้องทำงานเสี่ยงบนที่สูง กฎถือว่าเป็นเรื่องสำคัญเพราะจะทำให้คนทำงานไม่ประมาท โดยกฎที่มีความสำคัญต่อการทำงานบนที่สูง คือ  ผู้ทำงานบนที่สูงทุกคนต้องมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ไม่มีโรคประจำตัว ผ่านการตรวจสุขภาพและยืนยันจากแพทย์มาแล้วเป็นอย่างดี อุปกรณ์เซฟตี้ทุกชิ้นของพนักงานต้องพร้อมใช้งาน มีคุณภาพตรงตามมาตรฐานและสวมใส่ครบทุกชิ้น เตรียมจุดรองรับการตกกระแทกด้วยอุปกรณ์ความปลอดภัยที่มีความแข็งแรงและหาจุดยึดที่ดีที่สุด เพื่อทำให้การรองรับการกระแทกสมบูรณ์แบบมากที่สุด เตรียมอุปกรณ์ให้ความช่วยเหลือในช่วงเวลาทำงานและมีแผนสำรองเพื่อช่วยเหลือคนทำงานเสมอ จำนวนของคนทำงานบนที่สูงต้องมีน้ำหนักที่สมดุลกับตัวอุปกรณ์ ในขณะทำงานต้องจับอุปกรณ์ต่างๆ ด้วยมือทั้ง 2 ข้าง และมีสายพยุงตัวกับตัวจับยึดที่แน่นหนาเสมอ
ต้องมีเข็มขัดหรือกระเป๋าเพื่อเก็บเครื่องมือช่าง ห้ามถือเครื่องมือด้วยมือเปล่าขณะปีนหรือใช้อุปกรณ์ขึ้นที่สูง
การเคลื่อนไหวบนที่สูงต้องมีความระมัดระวัง ห้ามเคลื่อนไหวเร็วและห้ามทำท่าผาดโผนใดๆ ห้ามโยนหรือทิ้งเครื่องมือช่างและสิ่งของใดๆ ลงมาด้านล่างเด็ดขาด หลีกเลี่ยงการเหยียบบนวัสดุที่แตกหักง่าย เช่น สังกะสี, กระเบื้องหลังคา หรือไม้ที่มีความบาง

3.มีหลักการทำงานที่ชัดเจน
การทำงานบนความเสี่ยงทุกรูปแบบต้องมีหลักการทำงานที่ชัดเจน ทางบริษัทหรือผู้ว่าจ้างต้องมีการจัดอบรมและให้ความรู้กับพนักงานที่ต้องทำงานบนที่สูง ชี้ให้เห็นหลักการทำงาน, กฎระเบียบต่างๆ และชี้ให้เห็นอันตรายที่เกิดจากความประมาท เพื่อให้ผู้ที่ทำงานได้ตระหนักถึงความปลอดภัยและเข้าใจบทบาทของตัวเองมากขึ้น

4.มีอุปกรณ์เซฟตี้ครบชุด
อุปกรณ์เซฟตี้ของพนักงานต้องมีครบชุด เช่น รองเท้าเซฟตี้, รองเท้ากันลื่น, ถุงมือ ppe, หมวกนิรภัย, หน้ากาก, อุปกรณ์บังใบหน้า (สำหรับงานไฟฟ้าและงานเชื่อมต่างๆ ), อุปกรณ์กันการพลัดตก, หูครอบ และอุปกรณ์ป้องกันดวงตา เป็นต้น

5.มีองค์ประกอบกันตกครบครัน
องค์ประกอบเพื่อป้องกันการตกจะมีอยู่ 3 ส่วนสำคัญ คือ
จุดยึดตัวฐานกับตัวคนทำงาน โดยมีสายพยุงตัวเป็นจุดเชื่อม ทำให้เกิดความปลอดภัยเมื่อต้องพลัดตกจากที่สูง อุปกรณ์ตัวยึดที่ดีต้องผ่านมาตรฐานและต้องถูกผลิตออกมาในขนาดที่พอเหมาะ เพื่อช่วยลดระยะและแรงเหวี่ยงเมื่อต้องเกิดการตกหล่น

ตัวเชื่อมแบบตะขอเกี่ยวระหว่างฐานกับตัวคนทำงานที่มีด้วยกันหลายแบบ ต้องได้มาตรฐานและมีความแข็งแรง ทนทานต่อการถูกกัดกร่อนสูง อุปกรณ์นี้ต้องมีความสมบูรณ์ทุกครั้งก่อนเริ่มใช้งาน ควรเป็นแบบขึ้นรูปเพียงชิ้นเดียว ไม่ควรเป็นแบบมีรอยต่อ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการใช้งานมากขึ้น

เชือกเป็นตัวช่วยสำคัญในการดึงฐานกับคนทำงาน จึงต้องมีความเหนียว ไม่ขาดง่าย และมีระยะที่เหมาะสม ถูกแบ่งออกเป็น 2 ระยะชัดเจน คือ ระยะรักษาตำแหน่งที่ไม่เกิน 2 ฟุต และระยะป้องกันการตกที่ไม่เกิน 6ฟุต ผลิตมาจากไนล่อน, ลวดสลิง, โซ่ และเส้นใยสังเคราะห์ Dacron

การทำงานบนที่สูงมีความเสี่ยงมาก จึงจำเป็นที่จะต้องรู้ถึงข้อระวังและเตรียมอุปกรณ์เซฟตี้ให้พร้อม เพื่อรักษาชีวิตคนทำงานและป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ถ้าเตรียมการไว้ดีก็ย่อมทำให้เกิดความมั่นใจในการทำงาน มีความคล่องตัวสูง และช่วยทำให้งานสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี

……………………

อุปกรณ์ป้องกันการพลัดตก

Line
Messenger
Phone
Messenger
Line
Phone